Wednesday, September 9, 2015

กำเนิดบรรยากาศและกลไกคุ้มครองสิ่งมีชีวิต



                                    กำเนิดบรรยากาศ

  

กลไกคุ้มครองสิ่งมีชีวิต

โลกรับพลังงานส่วนใหญ่มาจากดวงอาทิตย์ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีทั้งรังสีที่มีคุณประโยชน์และเป็นโทษแก่สิ่งมีชีวิต บรรยากาศของโลกแม้จะมีความเบาบางมาก แต่ก็มีความหนาแน่นพอที่จะปกป้องรังสีคลื่นสั้น เช่น รังสีเอ็กซ์ และรังสีอุลตราไวโอเล็ต ไม่ให้ลงมาทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
บนพื้นโลกได้

กำเนิดบรรยากาศ

โลกถือกำเนิดเมื่อกว่าสี่พันล้านปีมาแล้วขณะนั้นโลกมีสภาพเหมือนก้อนหินกลมขนาดใหญ่ที่กำลังหลอมละลายและ ไม่มีบรรยากาศ เมื่อโลกเริ่มเย็นตัวลงก๊าซต่าง ๆ ภายในโลกรวมทั้งจากการระเบิดของภูเขาไฟได้ถูกปล่อยออกมากมาย เป็นบรรยากาศปกคลุมโลกแต่บรรยากาศในระยะแรกแตกต่างจากในปัจจุบันมากจากการศึกษาส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ ที่ออกมาจากการระเบิดของ ภูเขาไฟในปัจจุบันพบว่าส่วนใหญ่ประกอบด้วยไอน้ำร้อยละ 80 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 12 ก๊าซซัลเฟอร์ไอออกไซด์ร้อยละ 7 และ ก๊าซไนโตรเจนอีกร้อยละ 1จึงคาดว่าส่วนผสมของบรรยากาศของโลก เมื่อสี่พัน ล้านปีก่อนคล้ายกับส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ ที่พ่นออกมาจากการระเบิดของภูเขาไฟส่วนก๊าซออกซิเจนซึ่งเป็น ก๊าซที่มี ความ สำคัญสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ นั้นกิดขึ้นภายหลังนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าก๊าซออกซิเจนเกิดจาก การสลายของไอน้ำเมื่อได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์และจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชสีเขียวตามแหล่ง น้ำต่างๆที่มีกำเนิด เมื่อกว่าพันล้านปีก่อน






                                                                     

   

Tuesday, September 8, 2015

ความหมายของบรรยากาศ

                                    

                             บรรยากาศ

                                       (ATMOSPHERE)

                                   

บรรยากาศ (ATMOSPHERE)
     หมายถึง อากาศที่ห่อหุ้มโลกเราอยู่ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ก๊าซชนิดต่างๆ  ไอน้ำ 
ฝุ่นละออง แรงดึงดูดของโลกเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บรรยากาศมีความกดดันและความหนาแน่นสูงที่ระดับน้ำทะเลเมื่อสูงขึ้นไปความกดดันและความหนาแน่นของบรรยากาศจะลดลงตามลำดับ



       
  

                           


 




Monday, September 7, 2015

ความมายของความชื้นของอากาศ


                     ความชื้นของอากาศ




     วามชื้นของอากาศ  คือ  ปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศบริเวณใดบริเวณหนึ่ง  ซึ่งมีสัดส่วนที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ ถ้าอากาศมีความชื้นต่ำ น้ำจะเกิดการระเหยได้มาก  เสื้อผ้าที่ตากไว้จะแห้งเร็ว  แต่ถ้าอากาศมีความชื้นสูง  น้ำจะระเหยได้น้อย  เสื้อผ้าที่ตากไว้จะแห้งช้า  ขณะที่น้ำเกิดการระเหยจะทำให้อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมลดต่ำลง  เนื่องจากน้ำที่ระเหยจะดูดความร้อนจากสิ่งต่าง ๆไปใช้ในการระเหยนั่นเอง  เช่น  อุณหภูมิของเทอร์มอร์มิเตอร์เปียกลดต่ำลง  อุณหภูมิของน้ำในตุ่มดินเผาลดต่ำลง  เป็นต้น  การที่น้ำในตุ่มดินเผาเย็นกว่าน้ำที่เก็บในภาชนะอื่นนั้น  เนื่องจากตุ่มดินเผามีลักษณะรูพรุน  ซึ่งน้ำสามารถระเหยออกมาได้ จึงทำให้อุณหภูมิของตุ่มและน้ำลดต่ำลง  น้ำในตุ่มดินเผาจึงเย็น

อากาศอิ่มตัว  คือ  อากาศที่มีไอน้ำอยู่เต็มที่และไม่สามารถรับเพิ่มได้อีกแล้ว  ณ  อุณหภูมิหนึ่ง

การวัดความชื้นของอากาศ
เรามีวิธีบอกค่าความชื้นของอากาศได้  2 วิธี  คือ
       1 ) ความชื้นสัมบูรณ์  ( absolute  humidity ) หมายถึง  อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำอากาศกับปริมาตรของอากาศนั้น  ณ อุณหภูมิเดียวกัน มีหน่วยเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                ความชื้นสัมบูรณ์ ( AH )      =   มวลของไอน้ำในอากาศ
                                                          ปริมาตรของอากาศ  ณ  อุณหภูมิเดียวกัน

       2 ) ความชื้นสัมพัทธ์  ( relative  humidity )  คือ  ปริมาณเปรียบเทียบระหว่างมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศขณะนั้นกับมวลไอน้ำในอากาศอิ่มตัวที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน 
                ความชื้นสัมพัทธ์ ( RH )     = มวลของไอน้ำที่มีอยู่จริง     ×   100


          มวลของไอน้ำในอากาศอิ่มตัวที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน


   

Sunday, September 6, 2015

ความสำคัญของบรรยากาศ


                    ความสำสัญของชั้นบรรยากาศ


อากาศหรือบรรยากาศที่ห่อหุมโลกมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ดังนี้



    1. ช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต 
กล่าวคือ โดยปกติในช่วงกลางวันที่มีแสงแดด อากาศที่ห่อหุ้มโลกจะช่วยดูดกลืนความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้บางส่วนทำให้โลกมีความอบอุ่นขึ้น ส่วนช่วงกลางคืนที่ไม่มีแสงแดด อากาศจะช่วยระบายความร้อนทำให้โลกเย็นลง ถ้าไม่มีอากาศห่อหุ้มโลกไว้แล้วในช่วงกลางวันอุณหภูมิบนผิวโลกจะสูงถึงประมาณ 110 องศาเซลเซียส และในช่วงกลางคืนอุณหภูมิบนผิวโลกจะลดต่ำลงจนถึงประมาณ -180 องศาเซลเซียส











2. ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีต่าง ๆ จากดวงอาทิตย์ เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต (รังสีเหนือม่วง) จะถูกแก๊สโอโซนในบรรยากาศดูดซับไว้บางส่วนและปล่อยรังสีอัลตราไวโอเลต ลงมายังผิวโลกในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับมนุษย์ถ้าร่างกายถูกรังสีอัลตราไวโอเลตที่มีความเข้มมากเกินไป เซลล์ผิวหนังจะถูกทำลายและอาจทำให้เป็นมะเร็งที่ผิวหนังได้


     





3. ช่วยปกป้องสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอมที่มาจากนอกโลก       ซึ่งได้แก่  อุกกาบาต และ รังสีคอสมิก  อุกกาบาตเป็นวัตถุท้องฟ้าที่ตกลง       มายังโลก แล้งเกิดการเสียดสีกับบรรยากาศของโลก ทำให้เกิดการลุกไหม้จน   หมดในชั้นบรรยากาศ หรือเหลือเพียงบางส่วนที่ตกลงมายังพื้นผิวโลก ซึ่งมี ขนาดเล็กมาก ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ยกเว้นแต่อุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่ มากๆ ซึ่งนานๆครั้งจึงจะพบ เช่น อุกกาบาตแบริเยอร์ที่ตกในรัฐแอริโซนา       ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดหลุมบนแผ่นดินเรียกว่า หลุมอุกกาบาต












ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
4.ช่วยให้สิ่งมีชีวิตมีชีวิตอยู่ได้  
อากาศจำเป็นสำหรับการหายใจของสิ่งมีชีวิต ถ้าขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ และยังช่วยให้เกิดกระบวนการบางอย่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น แก๊สออกซิเจนเป็นแก๊สที่ใช้ในกระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิตและ ช่วยให้ไฟติดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นแก๊สที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช







5.ช่วยให้เกิดลมฟ้าอากาศ
การเปลี่ยนแปลงของ ลม ฟ้า อากาศ เช่นอากาศร้อน อากาศหนาว ลมแรง ฝนตก พายุ เป็นต้น ซี่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตขนโลก พืชต้องการลมฟ้าอากาศที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต น้ำฝนที่ตกลงมามีประโยชน์ต่อมนุษย์และสัตว์ ซึ่งนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคเพื่อการดำรงชีวิต นอกจากนี้การเกิดลมพายุที่รุนแรงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ได้เช่นกัน
                                                                                                       
                                  


                                                                          



                                                                                                   


Saturday, September 5, 2015

องค์ประกอบบรรยากาศโลก


                    องค์ประกอบบรรยากาศโลก
 

   องค์ประกอบบรรยากาศโลก
  •   
  •                                          


    อากาศ(Weather) หมายถึง บรรยากาศบริเวณใกล้ผิวโลก และที่อยู่รอบๆ ตัวเรา
    • อากาศทำหน้าที่คล้ายผ้าห่มที่หุ้มห่อโลก จึงช่วยปรับอุณหภูมิโลกให้พอเหมาะที่สิ่งมีชีวิตจะ ดำรงชีวิตอยู่ได้ อากาศที่หุ้มห่อโลกทำให้โลกร้อนขึ้นอย่างช้าๆ ในเวลากลางวัน และทำให้โลกเย็นตัวลงช้าๆ ในเวลากลางคืน 
    • อากาศที่หุ้มห่อโลก ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีและอนุภาคต่างๆ ที่มาจากนอกโลกดังนี้ 
      • ดูดกลืนรังสีอัตราไวโอเลต ทำให้รังสีอุลตราไวโอเลตลงสู่พื้นโลกในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต  
      • ทำอุกกาบาตลุกไหม้จนหมดไปหรือมีขนาดเล็กลงเมื่อตกถึงพื้นโลก จึงไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต 

    ส่วนประกอบของอากาศ 
    • บรรยากาศ คือ อากาศที่อยู่รอบตัวเราและห่อหุ้มโลกเราอยู่
    • อากาศที่อยู่รอบตัวเราเป็นของผสม เพราะประกอบด้วยไอน้ำ ควันไฟ ฝุ่นละออง และก๊าซ ต่างๆส่วนประกอบของอากาศแห้ง อากาศแห้ง คือ อากาศที่ไม่มีไอน้ำผสมอยู่เลย
      
    ส่วนประกอบของอากาศ
    ปริมาณ (ร้อยละโดยปริมาตร)
        ก๊าซไนโตรเจน (N2)
        ก๊าซออกซิเจน (O2)
        ก๊าซอาร์กอน (Ar)
        ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
        ก๊าซอื่นๆ
        78.08
        20.95
        0.93
        0.03
        0.01







    • ส่วนประกอบของอากาศ ที่มีปริมาณมากที่สุดคือ ก๊าซไนโตรเจน
    • อัตราส่วนของปริมาณก๊าซไนโตรเจนและก๊าซออกซิเจน ในอากาศมีค่าประมาณ 4 : 1 โดยปริมาตร                                                                  
    •                                                                                                
    • Friday, September 4, 2015

      ขอบเขตของบรรยากาศ


                              ขอบเขตของบรรยากาศ

           ขอบเขตของบรรยากาศ ไม่อาจบอกได้แน่นอนว่าสิ้นสุดลง ณ ที่ใด แต่ในทางฟิสิกส์ ถือว่า ถ้ายังมีปรากฏการณ์กระทบกันของอณูอากาศอยู่ ก็ถือว่ายังอยู่ในขอบเขตของบรรยากาศโดยทั่วไปแล้วอาจกล่าวได้ว่า ขอบเขตของบรรยากาศอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ ๑,๒๐๐ ไมล์เหนือระดับน้ำทะเล                      


                           


      Thursday, September 3, 2015

      การแบ่งชั้นบรรยากาศเกณฑ์อุณหภูมิ



                        การแบ่งชั้นบรรยากาศ

      การจัดแบ่งชั้นบรรยากาศ 


      การจำแนกเพื่อจัดชั้นของบรรยากาศ โดยทั่วไปจะจัดจำแนกตามลักษณะที่มีลักษณะเด่นชัด ตัวอย่างเช่น จัดจำแนกตามอุณหภูมิ จัดจำแนกตามสมบัติของแก๊สที่มีอยู่ จัดจำแนกตามสมบัติทางอุตุนิยมวิทยา ดังนี้
      1.การแบ่งชั้นบรรยากาศตามเกณฑ์อุณหภูมิ

      1)    โทรโพสเฟียร์ (troposphere) คือ  ชั้นบรรยากาศที่เราอาศัยอยู่  มีระยะความสูงจากผิวโลกขึ้นไปไม่เกิน  10 กิโลเมตร อุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้จะค่อย ๆ ลดลงตามระดับความสูงโดยเฉลี่ยอุณหภูมิจะลดลงประมาณ  6.5 องศาเซลเซียสต่อกิโลเมตร  เป็นชั้นบรรยากาศที่มีอากาศหนาแน่นและ มีไอน้ำมาก มีการเคลื่อนที่ของอากาศทั้งแนวระดับและแนวดิ่ง  ทำให้เกิดลักษณะลม ฟ้าอากาศต่าง ๆ เช่น มีหมอก เมฆ ฝน ลม พายุ เป็นบรรยากาศชั้นที่มีความสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา

      2)    สตราโตสเฟียร์ (stratosphere) คือ ชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปจนถึงระดับความสูงประมาณ   50 กิโลเมตร อุณหภูมิบรรยากาศชั้นนี้ค่อนข้างจะคงที่หรือสูงขึ้นเล็กน้อยตามความสูง          ที่เพิ่มขึ้น  เป็นชั้นบรรยากาศที่มีความชื้นและผงฝุ่นเล็กน้อย แต่จะมีแก๊สโอโซนในปริมาณมากซึ่งแก๊สนี้จะช่วยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)ไว้บางส่วนเพื่อไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลตลงมาสู่ผิวโลกมากเกินไป

      3)    มีโซสเฟียร์   (mesosphere)  คือ  ชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือชั้นสตราโตสเฟียร์ขึ้นไปจนถึงระดับความสูงประมาณ 80 กิโลเมตร อุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้จะลดลงตามระดับความสูง

      4)    เทอร์โมสเฟียร์ (thermosphere)  คือ ชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือชั้นมีโซสเฟียร์ขึ้นไปจนถึงระดับความสูง 500 กิโลเมตร อุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงความสูง 100 กิโลเมตรแรก หลังจากนั้นอัตราการสูงขึ้นของอุณหภูมิจะลดลง บรรยากาศชั้นนี้ร้อนมาก  คือ  มีอุณหภูมิประมาณ   227-1,727 องศาเซลเซียส


                                                               
                                         

                                                      

      Wednesday, September 2, 2015

      การแบ่งชั้นบรรยากาศตามเกณฑ์สมบัติของแก๊สในบรรยากาศ




                       การแบ่งชั้นบรรยากาศ

      3.การแบ่งชั้นบรรยากาศตามเกณฑ์สมบัติของแก๊สในบรรยากาศ


      1. โทรโพสเฟียร์ (troposphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ในระดับความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 10 กิโลเมตร  จากระดับน้ำทะเล ประกอบด้วยส่วนผสมของแก๊สหลายชนิด และ   ไอน้ำเป็นส่วนใหญ่  แก๊สดังกล่าวได้แก่ แก๊ส ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ และ   แก๊สอื่น ๆ เป็นต้น                                                                                                                                         
      2. โอโซโนสเฟียร์ (ozonosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือระดับโทรโพสเฟียร์ขึ้นไป คือในช่วงระยะความสูง10-50 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล มีแก๊สโอโซนอยู่อย่างหนาแน่น ทำหน้าที่ช่วยดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตที่มาจากดวงอาทิตย์ไว้ จึงช่วยลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่มวลมนุษย์ได้                                                                                                                                                  
      3. ไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือระดับโอโซโนสเฟียร์ขึ้นไปประมาณ 50-600 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเลประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ซึ่งเรียกว่า ไอออน (ion) สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุความถี่ไม่สูงนักได้ เช่น วิทยุระบบ A.M. จึงเป็นประโยชน์ในการใช้วิทยุสื่อสารระยะไกลได้                                                                                                                                 
      4. เอกโซสเฟียร์ (exosphere) เป็นบรรยากาศชั้นนอกสุดของโลกมีอากาศเบาบางมากส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม


      Tuesday, September 1, 2015

      การแบ่งชั้นบรรยากาศตามเกณฑ์สมบัติทางอุตุนิยมวิทยา


                    การแบ่งชั้นบรรยากาศ

      2.การแบ่งชั้นบรรยากาศตามเกณฑ์สมบัติทางอุตุนิยมวิทยา

      1บริเวณที่มีอิทธิพลของความฝืด เป็นชั้นที่นับจากพื้นผิวโลกขึ้นไปถึงระดับความสูงประมาณ 2 กิโลเมตร บริเวณนี้การไหลเวียนของมวลอากาศได้รับอิทธิพลจากความฝืด และจากลักษณะของพื้นผิวโลกนั้นๆ โครงสร้างในชั้นนี้จะแปรเปลี่ยนตามครวามสัมพันธ์ของการถ่ายเทความร้อนระหว่างผิวของโลกกับอากาศบริเวณนั้นๆ ซึ้งการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างบรรยากาศขึ้นอยู่กับละติจูดและภูมิประเทศเป็นสำคัญ
      2. โทรโพสเฟียร์ชั้นกลางและชั้นบน  เป็นชั้นบรรยากาศที่มีความฝืดจะมีผลต่อกานไหลเวียนของมวลอากาศน้อยมากอุณหภูมิชั้นนี้จะลดลงอย่างสม่ำเสมอตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น


      3. โทรโพสเฟียร์ เป็นชั้นอากาศที่อยู่ระหว่างโทรโพสเฟียร์และสตราโทสเฟียร์ เป็นเขตของบรรยากาศที่แบ่งชั้นที่มีไอน้ำและไม่มีไอน้ำ

      4. สตราโตสเฟียร์  มีลักษณะอากาศเหมือนกับสตราโทสเฟียร์ที่แบ่งโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์

      5. บรรยากาศชั้นสูง เป็นชั้นที่อยู่เหนือสตราโตสเฟียร์ถึงขอบนอกสุดของบรรยากาศ